แหล่งรวบรวมเรื่องราวข้อมูลของสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเล ทั้งสัตว์ทะเลน้ำลึกอาทิ หนอนทะเล ปลาหมึกดัมโบ ปลาหมึกแวมไพ ปะการัง กัลปังหา ฯล สัตว์ทะเลทั่วไป เช่น เต่าผู้ซึ่งเป็นสัตว์ที่ขึ้นชื่อว่าอายุยืน หรือจะเป็นกุ้ง หอย ปู ปลา ชนิดต่างๆ ตลอดจนเรื่องราวของปลาดาวที่น่ารักซึ่งถ้าพูดถึงการดำรงค์ชีวิตของมันอาจไม่น่ารักเหมือนชื่อ อีกทั้งให้เกร็ดความรู้เกี่ยวกับท้องทะเล ทั้งฝั่งอ่าวไทยและ อันดามัน เชิญอ่านได้และค่ะ
[ Read More ]
วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2552
ไซโฟโนฟอร์ (Siphonophore)
ไซโฟโนฟอร์เป็นสัตว์ทะเลในไฟลัมไนเดเรีย (cnidaria) คลาสไฮโดรชัว (Hydrozoa) มันเป็นญาติกับแมงกะพรุน ลักษณะเด่นของมันคือไม่ใช่สัตว์ทะเลที่อยู่เดี่ยวๆ แต่มีโคโลนี (colony) หรือมีสัตว์ทะเลอื่นๆ ในสปีซีส์เดียวกันมาอาศัยรวมกันอยู่ด้วย และยังพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เช่น ปกป้องโคโลนีจากการโจมตีของศัตรู และรวมกันโจมตีเหยื่อที่มีขนาดใหญ่กว่า ตัวอย่าง ของการอยู่รวมกันเป็นโคโลนี คือ มดและผึ้ง ไซโฟโนฟอร์ที่รู้จักกันดีที่สุดคือ "Portuguese man - of - war " ซึ่งมักเข้าใจผิดว่าเป็นแมงกะพรุน
ปลาหมึกแวมไพร์ (Cirrate Octopod)
ปลาหมึกแวมไพร์เป็นปลาหมึกสปีซีส์ อินเฟอร์นาลิส (Vampyroteuthis infernalis ) ซึ่งหมายถึง "ปลาหมึกแวมไพร์จากนรก" อยู่ในจีนัสแวมไพร์ทูทีส (Vampyroteuthis) แฟมีลี แวมไพร์โรทูไทได (Vampyroteuthidae) คลาสเซฟาโลโพดา ไฟลัมมอสลัสกา ปลาหมึกชนิดนี้อาศัยอยู่ในระดับน้ำ ลึก 300-3,000 เมตร ลักษณะเด่นของมันคือ มีดวงตาสีน้ำเงิน ผิวหนังสีน้ำตาลแดง มีพังผืดเหมือนกระโปรงรอบๆ ขา และมีหูคล้ายครีบเหนือดวงตาเช่นเดียวกับปลาหมึกดัมโบ นอกจากนั้นมันยังมีอวัยวะผลิตแสงสีน้ำเงิน ซึ่งทำให้ศัตรูมองเห็นมันได้ยาก
ปลาหมึกดัมโบ (Dumbo Octopus)
ปลาหมึกดับโบเป็นปลาหมึกสปีซีส์ สโตทูธีส ไซเทนซิส Stauroteuthis syrte หนึ่งในสองสปีซีส์ ของจีนีส สโตทูทีส (stauroteuth) จีนัสเดียวในแฟมิลี สโตทูไทได (Stauroteuthidae) คลาสเซฟาโลโพดา ไฟลัมมอสลัสกา มัน มีรูปร่างคล้ายระฆัง ลักษณะเด่นคือ มีตุ่มหรือ หน่อจำนวนมาก อยู่ที่หนวดหรือแขน ซึ่งผลิตแสงสว่างได้ และ มีหูคล้ายครีบ อยู่เหนือดวงตา
ปลาหมึกลูกหมู (Piglet Squid)
ปลาหมึกลูกหมูมีชื่อสามัญว่า Deep Sea Cranchid Squid เป็นปลาหมึกขนาดเล็ก อยู่ในจีนัสเฮลิคอเครนเชีย (Helicocranchia) คลาส เซฟาโลโพดา (Cephalopoda) ไฟลัมมอลลัสกา (Phylum Mollusca) นักวิทยาศาสตร์ คาดว่า มีปลาหมึกลูกหมู ในจีนัสเฮลิคอเครนเชีย ประมาณ 14 สปีซีส์ แต่ปัจจุบันรู้จักกันเพียง 3 สปีซีส์ ในภาพเป็น สปีซีส์ pfefferi ปลาหมึกลูกหมู อาศัยอยู่ใต้ทะลึก ถึง 4,000 เมตร ลักษณะเด่นของมันคือ มีรูปร่างหน้าตา คล้ายการ์ตูน หนวดตั้งตรง บนหัวคล้ายกับผม ซึ่งต่างจากปลาหมึกชนิดอื่นๆ และ มีครีบคล้ายใบพัด ที่ปลายลำตัว
หนอนทะเล (Annelid Worm)
หนอนทะเลเป็นสัตว์ที่อยู่ในไฟลัม แอนเนลิดา (Phylum Annelida) ไฟลัมนี้มีหนอนมากถึง 15,000 สปีซีส์ ที่รู้จักกันดีคือ ไส้เดือนและปลิง ในภาพคือหนอนทะเลหนึ่งใน 120 สปีซีส์ ในจีนัส เนออิส (Nereis) คลาสโพลีคีตา (Polychaeta) นักวิทยาศาสตร์พบมันในบริเวณน้ำพุร้อนก้นทะเล ลักษณะเด่นของหนอนชนิดนี้ คือ รูปร่างหน้าตาที่ประหลาดและดูน่าเกลียดน่ากลัว
วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2552
ความน่าพิศวงของ Hydrothermal vents
ยิ่งสำรวจลึก ยิ่งพบความน่าพิศวงบางแหล่งพบความสวยงาม และแปลกประหลาดมากมาย
พบหนอนทะเลเกิดขึ้นตามรูระบายความร้อน (Hydrothermal vents) จากภูเขาไฟใต้มหาสมุทร ที่ยังมี ปฏิกิริยาจากแนว Mid-ocean ridges เต็มไปด้วยสารเคมี ก๊าซมีเทน กรดกำมะถัน สามารถอยู่ร่วมกันได้ รวมทั้งหอยกาบ ปลาประหลาดหลายชนิดหนอนเหล่านั้นยาวถึง 2 เมตร อุณหภูมิ 121 องศา C ในรูระบายความร้อน หรือ ที่เรียกว่า Black smokers พบครั้งแรกเมื่อปี 1977 โดย US submersible ALVIN ที่ระดับความลึก 2,000 เมตรนักวิทยาศาสตร์ เชื่อว่าชีวิตทั้งหลาย เริ่มก่อตัวพัฒนาจากบริเวณ Black smokers มีแรงดันพุ่งสูงถึง 60 เมตร ถูกพัดพาโดยคลื่นไปสู่ธารน้ำแข็งบนพื้นโลก เป็นลักษณะเกิดบนดาวเคราะห์อื่นๆ เช่น ดาวอังคาร หรือดวงจันทร์ยูโรปาHydrothermal vents ไม่ได้มีเฉพาะบริเวณ พื้นมหาสมุทรเท่านั้น แต่มีอยู่ทั่วไป ตามแนวรอยแตกในทะเล รอยเคลื่อนของเปลือกโลก
สำรวจลึกลงไปโดย Marine Research Group at Harbor Branch เพื่อความเข้าใจโลกใต้ทะเลลึก สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ของสัตว์ในทะเล เพื่อค้นหารากฐาน ตอบคำถามต่างๆ ที่เรายังไม่เข้าใจที่เกี่ยวกับทะเลการสำรวจทะเลลึกมาก ระดับหลายพันเมตร ในทะเล South Florida บริเวณ 2 พื้นที่ คือ Tortugas และ Agassiz's Valleys โดย ใช้มนุษย์ลงไปกับยานดำน้ำขนาดเล็ก HBOI Submersibles เราได้พบสิ่งเหล่านี้ ความเสียหายของแหล่ง พัฒนาการชีวิตโลกที่มองไม่เห็นพบว่าตลอดแนวจาก Ireland ถึง New Zealand บริเวณแหล่งขุดเจาะน้ำมันมีการ เจริญเติบโตของสัตว์ช้า ไม่เพียงแต่เท่านั้น การประมงที่ใช้อวนขนาดใหญ่ ทำลายพื้นที่อาศัยสัตว์น้ำ อย่างกว้างขวางชัดเจน โดยเฉพาะใกล้ Norway เสียหายมาก กว่า 100 ตาราง กม.(จากข้อมูลการสำรวจ ปี 2002) และได้เพิ่มมากขึ้นทวีคูณ นับหลายพันตารางกิโลเมตร นั่นคือ มนุษย์กำลังทำลาย แหล่งต้นทาง Hydrothermal vents ที่มีอยู่ครั้งดึกดำบรรพ์ไปด้วยที่ละน้อย และ หากหมดสิ้นไป เราจะสร้างเองไม่ได้เลย
[ Read More ]
จาก ปลาดาว |
พบหนอนทะเลเกิดขึ้นตามรูระบายความร้อน (Hydrothermal vents) จากภูเขาไฟใต้มหาสมุทร ที่ยังมี ปฏิกิริยาจากแนว Mid-ocean ridges เต็มไปด้วยสารเคมี ก๊าซมีเทน กรดกำมะถัน สามารถอยู่ร่วมกันได้ รวมทั้งหอยกาบ ปลาประหลาดหลายชนิดหนอนเหล่านั้นยาวถึง 2 เมตร อุณหภูมิ 121 องศา C ในรูระบายความร้อน หรือ ที่เรียกว่า Black smokers พบครั้งแรกเมื่อปี 1977 โดย US submersible ALVIN ที่ระดับความลึก 2,000 เมตรนักวิทยาศาสตร์ เชื่อว่าชีวิตทั้งหลาย เริ่มก่อตัวพัฒนาจากบริเวณ Black smokers มีแรงดันพุ่งสูงถึง 60 เมตร ถูกพัดพาโดยคลื่นไปสู่ธารน้ำแข็งบนพื้นโลก เป็นลักษณะเกิดบนดาวเคราะห์อื่นๆ เช่น ดาวอังคาร หรือดวงจันทร์ยูโรปาHydrothermal vents ไม่ได้มีเฉพาะบริเวณ พื้นมหาสมุทรเท่านั้น แต่มีอยู่ทั่วไป ตามแนวรอยแตกในทะเล รอยเคลื่อนของเปลือกโลก
จาก ปลาดาว |
สำรวจลึกลงไปโดย Marine Research Group at Harbor Branch เพื่อความเข้าใจโลกใต้ทะเลลึก สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ของสัตว์ในทะเล เพื่อค้นหารากฐาน ตอบคำถามต่างๆ ที่เรายังไม่เข้าใจที่เกี่ยวกับทะเลการสำรวจทะเลลึกมาก ระดับหลายพันเมตร ในทะเล South Florida บริเวณ 2 พื้นที่ คือ Tortugas และ Agassiz's Valleys โดย ใช้มนุษย์ลงไปกับยานดำน้ำขนาดเล็ก HBOI Submersibles เราได้พบสิ่งเหล่านี้ ความเสียหายของแหล่ง พัฒนาการชีวิตโลกที่มองไม่เห็นพบว่าตลอดแนวจาก Ireland ถึง New Zealand บริเวณแหล่งขุดเจาะน้ำมันมีการ เจริญเติบโตของสัตว์ช้า ไม่เพียงแต่เท่านั้น การประมงที่ใช้อวนขนาดใหญ่ ทำลายพื้นที่อาศัยสัตว์น้ำ อย่างกว้างขวางชัดเจน โดยเฉพาะใกล้ Norway เสียหายมาก กว่า 100 ตาราง กม.(จากข้อมูลการสำรวจ ปี 2002) และได้เพิ่มมากขึ้นทวีคูณ นับหลายพันตารางกิโลเมตร นั่นคือ มนุษย์กำลังทำลาย แหล่งต้นทาง Hydrothermal vents ที่มีอยู่ครั้งดึกดำบรรพ์ไปด้วยที่ละน้อย และ หากหมดสิ้นไป เราจะสร้างเองไม่ได้เลย
Deep-sea hydrothermal vents รอยแยกของเปลือกโลก
Deep-sea hydrothermal vents รอยแยกของเปลือกโลกซึ่งอยู่ใต้มหาสมุทรลึก มีความสำคัญทางธรณีวิทยา เกี่ยวข้องกับการเกิดและเลื่อนตัวของชายฝั่งทะเล ตามแนวDeep-sea hydrothermal vents นั้นจะมีหินละลาย (magma) จากใต้พื้นโลกดันขึ้นมาเกิดเป็นแผ่นดินอยู่เรื่อยๆ หินละลายเหล่านี้มีอุณหภูมีสูงมาก น้ำทะเลที่อยู่บริเวณนั้นอาจมีอุณหภูมิสูงได้ถึง 404 องศาเซลเซียสเลยทีเดียว ในขณะที่น้ำทะเลรอบๆ มีอุณหภูมิเหนือจุดเยือกแข็ง เล็กน้อย เมื่อน้ำที่มีอุณหภูมิต่างกันมาผสมกันสารประกอบพวกกัมมะถัน ก็จะทำให้เกิดควันดำพุ่งขึ้นมา เราเรียกว่า "black smoker" เป็นเรื่องน่าแปลกใจมาก ที่ค้นพบสิ่งมีชีวิตจำนวนมากในสถานที่เช่นนี้ คาดกันว่าสิ่งมีชีวิตเหล่านี้อาศัยพลังงานเคมี และ ความร้อนที่พ่นออกมา การค้นพบนี้นับว่าเป็นครั้งแรกที่มีการพบสิ่งมีชีวิตในที่ๆ ไม่มีพลังงานจากแสงอาทิตย์เลย และเป็นไปได้ว่าสิ่งมีชีวิตแรกของโลก อาจเกิดจากสภาวะเช่นนี้และจากหลักฐานทางชีวะวิทยาพบว่าสิ่งมีชีวิตที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด เป็นพวกที่สามารถปรับตัวเข้ากับความร้อนได้ดี ทำให้ทฤษฎีที่ว่าสิ่งมีชีวิตเกิดจาก Deep-sea hydrothermal vents มีความเป็นไปได้สูงมาก และเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในขณะนี้
การค้นพบนี้ทำให้เพิ่มความเป็นได้ว่าอาจจะมีชีวิตในดาวดวงอื่นนอกจากโลก เพราะสภาพของ Deep-sea hydrothermal vents นั้นพบได้ในดวงดาวทั่วๆไป....
บริเวณแหล่งระบายความร้อน Hydrothermal นัยสำคัญการกำเนิดระบบและรูปแบบการเกิดขึ้นเสมือนโลกเป็นพ่อครัว ปรุงส่วนผสมแห่งชีวิตจาก วัตถุดิบจาก แร่ธาตุสารประกอบ ความร้อน น้ำ รวมเป็นปฎิกิริยาทางเคมีอย่างเหลือเชื่อนับหลายพันล้านปี จนปัจจุบันก็ยังไม่หยุด มีขบวนการอธิบายได้ดังนี้ 1.บริเวณน้ำเย็น อุณหภูมิ 2 องศา C นอนก้นตามรอยแยกของพื้นมหาสมุทร2.น้ำทะเลนอนก้น จากระยะเวลายาวนานจนเป็นแผ่นแข็ง (Ocean crust) จมอยู่ ด้านล่าง พลังงานความร้อน จากหินหลอมละลาย ที่อยู่ลึกด้านล่างใต้พื้นทะเล เฉลี่ยความลึกที่ 4-6 กิโลเมตร ทำให้เกิดความร้อน ระดับ 350-400 องศา C จนทำให้น้ำเดือดทำให้เกิด ปฏิกิริยาทางเคมี คายออกซิเจนออกมาเกิดกรด (Acidic) เกิดการละลายแร่โลหะ เหล็ก ทองแดง ตะกั่ว และกำมะถัน3.ของที่เหลวร้อน (Hot liquids) จะมีความเข้มข้นน้อยลงเ พราะลอยตัวผสมกับ ของเหลวที่เย็น (Cold liquids) ดังนั้นเกิดการไหลระบายออก เหมือนฟองอากาศ ร้อน (Hot-air balloon) สู่ด้านบนพร้อมกรดกำมะถัน4.การระบายความร้อนนำ สารประกอบทางเคมีออกมา ผสมรวมกับน้ำทะเล การไหลออกมา ของแร่ธาตุโลหะกับ กรดกำมะถัน แร่ที่มีสีดำ (Black minerals) เรียกว่า Metal sulfides (กรดโลหะ) มีลักษณะเป็นควันสีดำ (Black smokers) ส่วนควันสีขาว (White smokers) เกิดเช่นนั้น เพราะมีเงื่อนไข ระบายความร้อนมีส่วนผสมของน้ำทะเลบริเวณใต้พื้นทะเล แต่กลุ่มแร่อยู่ต่ำลงไปมากจากใต้พื้นไม่การรวมตัวกันทางเคมี บางกรณีการไหลระบาย ส่วนประกอบของ Silica ออกมารวมกับองค์ประกอบเคมีอื่น กิดเป็นแร่ Anhydrite ทำให้ปฏิกิริยาทางเคมีเป็นควันสีขาวได้เช่นกัน
[ Read More ]
การค้นพบนี้ทำให้เพิ่มความเป็นได้ว่าอาจจะมีชีวิตในดาวดวงอื่นนอกจากโลก เพราะสภาพของ Deep-sea hydrothermal vents นั้นพบได้ในดวงดาวทั่วๆไป....
จาก ปลาดาว |
บริเวณแหล่งระบายความร้อน Hydrothermal นัยสำคัญการกำเนิดระบบและรูปแบบการเกิดขึ้นเสมือนโลกเป็นพ่อครัว ปรุงส่วนผสมแห่งชีวิตจาก วัตถุดิบจาก แร่ธาตุสารประกอบ ความร้อน น้ำ รวมเป็นปฎิกิริยาทางเคมีอย่างเหลือเชื่อนับหลายพันล้านปี จนปัจจุบันก็ยังไม่หยุด มีขบวนการอธิบายได้ดังนี้ 1.บริเวณน้ำเย็น อุณหภูมิ 2 องศา C นอนก้นตามรอยแยกของพื้นมหาสมุทร2.น้ำทะเลนอนก้น จากระยะเวลายาวนานจนเป็นแผ่นแข็ง (Ocean crust) จมอยู่ ด้านล่าง พลังงานความร้อน จากหินหลอมละลาย ที่อยู่ลึกด้านล่างใต้พื้นทะเล เฉลี่ยความลึกที่ 4-6 กิโลเมตร ทำให้เกิดความร้อน ระดับ 350-400 องศา C จนทำให้น้ำเดือดทำให้เกิด ปฏิกิริยาทางเคมี คายออกซิเจนออกมาเกิดกรด (Acidic) เกิดการละลายแร่โลหะ เหล็ก ทองแดง ตะกั่ว และกำมะถัน3.ของที่เหลวร้อน (Hot liquids) จะมีความเข้มข้นน้อยลงเ พราะลอยตัวผสมกับ ของเหลวที่เย็น (Cold liquids) ดังนั้นเกิดการไหลระบายออก เหมือนฟองอากาศ ร้อน (Hot-air balloon) สู่ด้านบนพร้อมกรดกำมะถัน4.การระบายความร้อนนำ สารประกอบทางเคมีออกมา ผสมรวมกับน้ำทะเล การไหลออกมา ของแร่ธาตุโลหะกับ กรดกำมะถัน แร่ที่มีสีดำ (Black minerals) เรียกว่า Metal sulfides (กรดโลหะ) มีลักษณะเป็นควันสีดำ (Black smokers) ส่วนควันสีขาว (White smokers) เกิดเช่นนั้น เพราะมีเงื่อนไข ระบายความร้อนมีส่วนผสมของน้ำทะเลบริเวณใต้พื้นทะเล แต่กลุ่มแร่อยู่ต่ำลงไปมากจากใต้พื้นไม่การรวมตัวกันทางเคมี บางกรณีการไหลระบาย ส่วนประกอบของ Silica ออกมารวมกับองค์ประกอบเคมีอื่น กิดเป็นแร่ Anhydrite ทำให้ปฏิกิริยาทางเคมีเป็นควันสีขาวได้เช่นกัน
พลังงานที่สร้างสิ่งมีชีวิตบนโลกนั้นมาจากไหน?
มาจากแสงสว่าง ความร้อนจากแสงแดด หรือมาจากความร้อนใต้พี้นพิภพ เมื่อก่อนนี้นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ คิดว่าสิ่งมีชีวิตควรจะมาจากสวรรค์ แต่จากข้อมูลใหม่ๆ พบว่าไม่แน่ซะแล้ว.... เนื่องจากมีการพบสิ่งมีชีวิตจำนวนมาก ใต้มหาสมุทรแปซิฟิกซึ่งไม่มีแสงสว่างจากดวงอาทิตย์หลุดรอดลงไปได้ สิ่งมีชีวิตตัวแรกบนโลก อาจจะเกิดขึ้นใต้มหาสมุทร ในบริเวณที่เรียกว่า Deep-sea hydrothermal vents
[ Read More ]
จาก ปลาดาว |
สิ่งมีชีวิตหลากหลายใต้ท้องทะเลลึก
หลายๆ คนอาจคิดว่าโลกยุคปัจจุบันมีสิ่งมีชีวิตหลงสำรวจอยู่น้อยเต็มที นั่นเป็นความเข้าใจผิด เพราะ ยังมีสิ่งมีชีวิตที่มนุษย์ ยังไม่เคยเห็นอีกมากมาย โดยเฉพาะใต้ท้องทะเลลึก พื้นผิวโลกเป็นมหาสมุทรถึง 70% และมีความลึกโดยเฉลี่ย 4 กิโลเมตร เมื่อเปรียบเทียบกับที่อื่นๆ แล้ว
ใต้ท้องทะเลลึกเป็นบริเวณ ที่หนาวเย็นมืดทึบและมีออกซิเจนน้อย สภาพแวดล้อมจึงเอื้อ ต่อการมีชีวิตน้อยมาก แต่ที่นี่กลับมีสิ่งมีชีวิต ที่หลากหลายและมีรูปลักษณ์แปลกๆ ท้องทะเลลึกมีสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ ไปจนถึงขนาดเล็ก ตั้งแต่วาฬสเปิร์ม ปลาหมึกยักษ์ อาร์ชิทิวทิส ขนาด 13 เมตร ปลาหมึกยักษ์คอลอสซอล ขนาด 15 เมตร ปลาฉลามสลีปเปอร์ ไปจนกระทั่งถึง ปะการัง ปลาหมึกขนาดเล็ก หนอน และแบคทีเรีย
ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์นานาชาติกว่า 70 ประเทศ กำลังสำรวจสิ่งมีชีวิตในมหาสมุทร ตั้งแต่ขั้วโลกเหนือ ถึงขั้วโลกใต้ เพื่อทำฐานข้อมูลตามโครงการ "Census of Marine Life" (CoML) ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปี 2000 การสำรวจสิ่งมีชีวิต ในมหาสมุทรครั้งใหญ่นี้ จะใช้ระยะเวลา 10 ปี เพื่อประเมินและอธิบายความหลากหลาย การกระจายและความอุดมสมบูรณ์ ของสิ่งมีชีวิต ในมหาสมุทร ทั้งในอดีตปัจจุบันและ อนาคต ก้นทะเลลึกมีความลึกลับหลายอย่างที่มนุษย์เพิ่งจะรู้ ไม่น่าเชื่อว่าจะมีสัตว์ทะเล อาศัยอยู่ในบริเวณปล่องน้ำพุร้อน (Hydrothermal vent) (ส่วนใหญ่อยู่ในระดับความลึก 2,100 เมตร) ซึ่งอุดมไปด้วยแร่เหล็กและกำมะถัน ทว่าที่นี่เป็นที่อยู่ของสัตว์หลายชนิด เช่น แบคทีเรีย หอยกาบ ปลารูปร่างประหลาด และ หนอนซึ่งมีลำตัวยาวมากกว่า 2 เมตร สัตว์ขนาดเล็กที่นี่มีประโยชน์ต่อมนุษย์
นักวิทยาศาสตร์หวังว่า จะผลิตยาจากสัตว์เล็กๆ เหล่านี้รวมถึงผลิตภัณฑ์อื่นๆ ด้วย ก้นทะเลลึกยังเป็นแหล่ง ที่อยู่อาศัยของปะการัง เมื่อไม่นานมานี้ นักวิทยาศาสตร์ค้นพบ ปะการังในเขตหนาว ซึ่งอยู่ลึกถึง 6,000 เมตร และมีอุณหภูมิของน้ำเพียง 2 องศาเซลเซียส เท่านั้น ซึ่งต่างจากปะการัง ในเขตร้อนซึ่งอยู่ในน้ำตื้น และ ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ ได้พบปะการังน้ำลึก ตั้งแต่ไอร์แลนด์ไปจนกระทั่ง ถึงนิวซีแลนด์ แต่น่าเสียดายมันกำลัง ถูกทำลาย โดยเรือประมงน้ำลึก เมื่อกลางเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา ได้มีการประชุมนานาชาติ "ชีววิทยาท้องทะเลลึก ครั้งที่ 11 " ที่เมืองเซาธ์แธมตัน สหราชอาณาจักร การประชุมครั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้นำเสนอ ภาพสัตว์ใต้ทะเลลึก หลายชนิด ซึ่งสัตว์บางชนิดน่าตื่นตาตื่นใจมาก
ทศวรรษที่ 1990 ญี่ปุ่นพัฒนายานดำน้ำรุ่นใหม่เป็นหุ่นยนต์สำรวจใต้น้ำที่ควบคุมด้วยรีโมท คอนโทรล หุ่นยนต์สำรวจใต้น้ำที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ "ไคโกะ" ซึ่งสำรวจก้นทะเลที่มาริอานัส เทรนช์ เมื่อปี 1995 แต่สูญหายไป ไคโกะจะถูกทดแทนด้วย "อัลวิน" ในปี 2009 ซึ่งจะสามารถสำรวจก้นทะเลได้ครอบคลุมถึง 99% นักวิทยาศาสตร์คาดว่า ยานสำรวจใต้น้ำในอนาคตอันใกล้นี้จะเคลื่อนที่เหมือนเครื่องบินเจ็ท บางชนิดจะเคลื่อนที่ได้เหมือนปลา และนักวิทยาศาสตร์จะสามารถสร้างเครือข่ายหุ่นยนต์สำรวจใต้น้ำรวมทั้งห้อง แล็บอัตโนมัติที่ก้นทะเลลึกได้ด้วย ซึ่งจะทำให้มนุษย์สามารถศึกษาสิ่งมีชีวิตในทะเลลึกได้มากขึ้นกว่าที่เป็น อยู่หลายเท่าตัว ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์สามารถเก็บตัวอย่างสิ่งมีชีวิตบริเวณก้นทะเลได้เพียง 1% เท่านั้น
* จาก น.ส.พ.มติชน ฉบับวันที่ 12 สิงหาคม 2549 คอลัมน์ โลกสามมิติ โดย บัณฑิต คงอินทร์* บทความจาก คุณสายชล : http://www.saveoursea.net/boardsmf/index.php?topic=799.0
[ Read More ]
ใต้ท้องทะเลลึกเป็นบริเวณ ที่หนาวเย็นมืดทึบและมีออกซิเจนน้อย สภาพแวดล้อมจึงเอื้อ ต่อการมีชีวิตน้อยมาก แต่ที่นี่กลับมีสิ่งมีชีวิต ที่หลากหลายและมีรูปลักษณ์แปลกๆ ท้องทะเลลึกมีสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ ไปจนถึงขนาดเล็ก ตั้งแต่วาฬสเปิร์ม ปลาหมึกยักษ์ อาร์ชิทิวทิส ขนาด 13 เมตร ปลาหมึกยักษ์คอลอสซอล ขนาด 15 เมตร ปลาฉลามสลีปเปอร์ ไปจนกระทั่งถึง ปะการัง ปลาหมึกขนาดเล็ก หนอน และแบคทีเรีย
ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์นานาชาติกว่า 70 ประเทศ กำลังสำรวจสิ่งมีชีวิตในมหาสมุทร ตั้งแต่ขั้วโลกเหนือ ถึงขั้วโลกใต้ เพื่อทำฐานข้อมูลตามโครงการ "Census of Marine Life" (CoML) ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปี 2000 การสำรวจสิ่งมีชีวิต ในมหาสมุทรครั้งใหญ่นี้ จะใช้ระยะเวลา 10 ปี เพื่อประเมินและอธิบายความหลากหลาย การกระจายและความอุดมสมบูรณ์ ของสิ่งมีชีวิต ในมหาสมุทร ทั้งในอดีตปัจจุบันและ อนาคต ก้นทะเลลึกมีความลึกลับหลายอย่างที่มนุษย์เพิ่งจะรู้ ไม่น่าเชื่อว่าจะมีสัตว์ทะเล อาศัยอยู่ในบริเวณปล่องน้ำพุร้อน (Hydrothermal vent) (ส่วนใหญ่อยู่ในระดับความลึก 2,100 เมตร) ซึ่งอุดมไปด้วยแร่เหล็กและกำมะถัน ทว่าที่นี่เป็นที่อยู่ของสัตว์หลายชนิด เช่น แบคทีเรีย หอยกาบ ปลารูปร่างประหลาด และ หนอนซึ่งมีลำตัวยาวมากกว่า 2 เมตร สัตว์ขนาดเล็กที่นี่มีประโยชน์ต่อมนุษย์
นักวิทยาศาสตร์หวังว่า จะผลิตยาจากสัตว์เล็กๆ เหล่านี้รวมถึงผลิตภัณฑ์อื่นๆ ด้วย ก้นทะเลลึกยังเป็นแหล่ง ที่อยู่อาศัยของปะการัง เมื่อไม่นานมานี้ นักวิทยาศาสตร์ค้นพบ ปะการังในเขตหนาว ซึ่งอยู่ลึกถึง 6,000 เมตร และมีอุณหภูมิของน้ำเพียง 2 องศาเซลเซียส เท่านั้น ซึ่งต่างจากปะการัง ในเขตร้อนซึ่งอยู่ในน้ำตื้น และ ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ ได้พบปะการังน้ำลึก ตั้งแต่ไอร์แลนด์ไปจนกระทั่ง ถึงนิวซีแลนด์ แต่น่าเสียดายมันกำลัง ถูกทำลาย โดยเรือประมงน้ำลึก เมื่อกลางเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา ได้มีการประชุมนานาชาติ "ชีววิทยาท้องทะเลลึก ครั้งที่ 11 " ที่เมืองเซาธ์แธมตัน สหราชอาณาจักร การประชุมครั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้นำเสนอ ภาพสัตว์ใต้ทะเลลึก หลายชนิด ซึ่งสัตว์บางชนิดน่าตื่นตาตื่นใจมาก
ทศวรรษที่ 1990 ญี่ปุ่นพัฒนายานดำน้ำรุ่นใหม่เป็นหุ่นยนต์สำรวจใต้น้ำที่ควบคุมด้วยรีโมท คอนโทรล หุ่นยนต์สำรวจใต้น้ำที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ "ไคโกะ" ซึ่งสำรวจก้นทะเลที่มาริอานัส เทรนช์ เมื่อปี 1995 แต่สูญหายไป ไคโกะจะถูกทดแทนด้วย "อัลวิน" ในปี 2009 ซึ่งจะสามารถสำรวจก้นทะเลได้ครอบคลุมถึง 99% นักวิทยาศาสตร์คาดว่า ยานสำรวจใต้น้ำในอนาคตอันใกล้นี้จะเคลื่อนที่เหมือนเครื่องบินเจ็ท บางชนิดจะเคลื่อนที่ได้เหมือนปลา และนักวิทยาศาสตร์จะสามารถสร้างเครือข่ายหุ่นยนต์สำรวจใต้น้ำรวมทั้งห้อง แล็บอัตโนมัติที่ก้นทะเลลึกได้ด้วย ซึ่งจะทำให้มนุษย์สามารถศึกษาสิ่งมีชีวิตในทะเลลึกได้มากขึ้นกว่าที่เป็น อยู่หลายเท่าตัว ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์สามารถเก็บตัวอย่างสิ่งมีชีวิตบริเวณก้นทะเลได้เพียง 1% เท่านั้น
* จาก น.ส.พ.มติชน ฉบับวันที่ 12 สิงหาคม 2549 คอลัมน์ โลกสามมิติ โดย บัณฑิต คงอินทร์* บทความจาก คุณสายชล : http://www.saveoursea.net/boardsmf/index.php?topic=799.0
ดาวทะเลเป็นปลาหรือไม่?
ดาวทะเลเคยมีชื่อเรียกว่า ปลาดาว แต่ก็เป็นความเข้าใจผิด เพราะว่าดาวทะเลมิใช่ปลา ดาวทะเลเป็นสัตว์รูปร่างคล้ายดาว ส่วนใหญ่ จะมีลำตัวแยกเป็น 5 แฉกแต่ละแฉกเรียกว่าแขน สีสันของดาวทะเลสวยงาม พิสดาร เช่น สีแดง สีน้ำเงิน หรือแม้แต่ชมพูสดใส หากตัดดาวทะเลออกเป็นชิ้น แต่ละชิ้นก็จะงอกใหม่เป็นดาวทะเลเต็มตัว เกร็ดความรู้ - ดาวทะเลบาสเก็ตมีแขนกว่า 80000 ข้าง
[ Read More ]
รู้หรือไม่ดาวทะเลมิใช่ปลา
ดาวทะเลเคยมีชื่อเรียกว่า ปลาดาว แต่ก็เป็นความเข้าใจผิด เพราะว่าดาวทะเลมิใช่ปลา ดาวทะเลเป็นสัตว์รูปร่างคล้ายดาว ส่วนใหญ่ จะมีลำตัวแยกเป็น 5 แฉกแต่ละแฉกเรียกว่าแขน สีสันของดาวทะเลสวยงาม พิสดาร เช่น สีแดง สีน้ำเงิน หรือแม้แต่ชมพูสดใส หากตัดดาวทะเลออกเป็นชิ้น แต่ละชิ้นก็จะงอกใหม่เป็นดาวทะเลเต็มตัว เกร็ดความรู้ - ดาวทะเลบาสเก็ตมีแขนกว่า 80000 ข้าง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)